泰国华侨中医院就诊治疗同意书

Last updated: 13 Jul 2023  |  740 Views  | 

泰国华侨中医院就诊治疗同意书

泰国华侨中医院就诊治疗同意书

本人同意接受泰国华侨中医院的中医医疗,包括:诊断、治疗、疾病预防、中医养生及康复治疗等。以中医为基础,治疗方法由中医师酌情决定,如使用中药(口服和外用药物)、针灸、推拿,以及其他与治疗相关的程序等。本人接受上述中医诊断治疗所产生的结果,并同意在适当的情况下有合理充分的理由将患者送往其他医院接受治疗。

患者及亲属在就诊治疗前需要告知医生个人基本信息

- 患者的基础疾病

- 常用药物(正在服用的药物,包括中药和各类保健营养品)

- 药物过敏史/食物过敏史/中草药过敏史

- 手术史/事故史

患者和亲属接收的信息

- 初步诊断治疗方案

- 症状和疾病的严重程度,并知晓病情可能随时会发生变化

- 治疗的效果和副作用/并发症

1. 中药的使用

- 初期服用中药或调整服用药物期间是身体处于平衡过程中的时期,2-3天内可能会导致身体感到疲劳,轻度腹泻、恶心和呕吐或头晕,如果在整个服药期间持续存在以上症状,应立即停止服药并咨询医生。

- 服用中药后,如有中药过敏反应,如全身长红疹,无过敏性皮炎病史,胸闷,呼吸困难等,应立即停止服药并咨询相关医生。

*支付费用后,中药不可兑换成现金或退回。

2. 中医针灸和推拿服务流程

中医针灸和推拿前的准备事项

-    应在大约1小时前进食,如果在针灸推拿前没有进食,可能会感到头晕。

-    应保持充足的睡眠,运动后或劳力工作后患者应先坐下休息,以恢复体力。

-    应沐浴以保持身体干净,为减少病菌进入身体产生风险。每次针灸前,中医师会使用酒精和棉签在穴位上消毒清洁。

-    为了治疗时的方便,应穿着宽松舒适的服装。

中医针灸注意事项(治疗前需告知医生)

-    怀孕或经期的妇女。

-    未经现代医学检查和治疗的癌症患者。

-    伴有凝血障碍的血管疾病患者或服用血液稀释药物的患者。

-    患有针灸无法治愈的某些必须手术治疗的疾病患者,针灸仅有助于缓解白内障等疾病的症状。

-    佩戴心脏起搏器(Pacemaker)的心脏病患者。

中医推拿注意事项(治疗前需告知医生)

-    血压高于 160/100 mmHg 的患者不能进行推拿按摩。

-    患有癌症、骨癌、皮肤病、开放性伤口、骨折事故、严重骨质疏松症患者,不可推拿按摩或在就诊治疗前请医生评估。

-    容易出血的患者。

-    肺结核患者。

-    怀孕妇女胎龄小于5个月的患者。

2.1 针灸治疗

针灸期间

-    针灸时请放松身心,请勿过度担心或害怕导致肌肉紧张。如果在针灸过程中感到疼痛、僵硬、迟钝、麻木和通电,这是针灸时的正常现象。

-    如果疼痛剧烈或有其他异常感觉,如头晕、昏厥、手脚出汗,请立即呼叫医生或护士。

-    针灸时,请勿随意移动身体,否则可能会导致针弯曲,肌肉扭伤针头卡住。如果针灸部位感到疼痛或针头滑落,患者不应自行拔针。请立即呼叫医生或护士。

-    使用电疗时,如果感到疼痛电疗强烈,请立即呼叫医生或护士。调整电疗器防止刺激部位肌肉酸痛或发炎。

针灸后

-    长时间仰卧的患者当针头完全拨出后,起床前应仰卧休息 5 至 10 分钟。

-    如果患者感到穴位疼痛可以告知治疗的医生进行调整。

-    针灸后可以开车,但应在 2 小时后才能沐浴,可以正常进行日常活动,不需马上休息睡觉。

-    如感到身体酸痛,疲倦,类似于发烧。可自行服用止痛退烧药,多喝水,保持充足的睡眠和休息后症状可自行消失。

-    拔罐后避免喝冰水、身体暴露在风中、吹空调和沐浴(大约 3-4 小时后才能沐浴)。

-    针灸疗法可以与其他疗法相结合,例如物理疗法、服用药物。

针灸后可能出现的症状

-    皮下出血可能会导致针灸部位出现深紫色斑点、瘀伤和疼痛感。这种症状会在3-5天内逐渐消失,出现症状后24小时内可进行冷敷,24小时后进行热敷,以帮助血肿更快愈合。

-    针灸后如有疼痛症状,可能会出现1-2天的疼痛和酸痛,可以吃止痛药,保持充足的休息,禁止运动。

-    在一些女士中,针灸可能会刺激月经周期比平时来得更快更多量。

2.2 骨伤推拿治疗

中医推拿治疗后可能出现的症状

-    推拿治疗后出现的疼痛和僵硬是由轻微的肌肉损伤引起的,通常发生在以前没有接受过推拿的患者身上,如果感到皮肤痛可以吃止痛药,多喝水有助于缓解症状。

-    通常在没有充足的睡眠和休息的人群中会有昏厥、头晕、心悸、出汗、手脚冰凉、恶心呕吐等症状。可能会在治疗期间引起低血糖,通过吃甜品或休息进行初步护理,症状会逐渐好转。

-    按摩部位有绿色斑点,来源于因冠心病或贫血长期服用抗凝药物所致,症状在之后会自行消失。

-    接受淋巴结按摩的人群中会出现发烧或虚弱状况,如果患有这些症状,可以服用退烧药或多喝水来帮助缓解症状。

-    药物过敏或皮肤太干太薄造成的瘙痒或过敏性皮疹来自于外用药物,应避免煎煮超过 4 小时或将药膏放置过夜。

3.拔罐治疗

拔罐的禁忌和注意事项(治疗前需告知医生)

-    怀孕或经期的妇女。

-    容易出血的患者。

-    有开放性伤口、肿胀、炎症和皮炎或有大血管区域的患者。

-    高烧和癫痫患者。

-    心脏病患者。

-    老人或身体太虚弱的人不适合拔罐,存在减弱患者身体的风险。

拔罐后可能出现的症状

-    拔罐后出血会在几天内自行消失,并可能导致囊肿,如果只是小囊肿,会自行消失。但如果出现大囊肿,则不应刺穿囊肿。需像往常一样沐浴清洁身体,将起泡区域拍干并咨询相关医生。

-    拔罐后避免喝冰水、身体暴露在风中、吹空调和沐浴(大约 3-4 小时后才能沐浴)。

4.熏蒸治疗

熏蒸注意事项

1. 熏蒸时,要放松身心,姿势要端正,不要紧张,看清楚要熏蒸的部位。

2. 皮肤较敏感,反应迟钝,皮肤敏感性低的老年人可能存在水泡或灼伤的风险。

艾灸后可能出现的症状

1. 熏蒸时,熏蒸处要有微温。如果您有发热、烫伤或皮肤灼热的症状请立即呼叫医生或护士。

2. 部分患者熏蒸后可能有水泡,不可刺穿。需像往常一样沐浴清洁身体。将起泡区域清洗干净吹干,并按时回诊给医生查看。

3.如果感觉灼热熏蒸部位皮肤有红肿,在患处冷敷或涂抹芦荟膏,减轻烧灼感,防止皮肤起泡。

5. 养颜护肤护理治疗

治疗前准备事项

- 如还有接受针灸治疗的情况下,应在1小时左右之前进食过,如果没有进食,可能会引起头晕。针灸过的部位,可能会有一些瘀伤/发红/酸痛。

- 应穿着宽松舒适的服装,服装无需太紧或覆盖颈部区域,因该部位可能需要治疗。

- 至少在预定时间前 15 分钟到达本院。

- 患者应化淡妆或避免化妆(以便医生清楚地评估皮肤状况)

治疗注意事项(治疗前需告知医生)

- 怀孕期间的妇女。

- 患有面部、头皮或颈部疾病的患者。

- 服用血液稀释药物并伴有凝血障碍的血管疾病的患者。

- 在不到 2 周的时间内接受肉毒杆菌素注射、拉皮的患者。

- 有蜂蜜/花粉过敏史的患者必须在做护肤护理前告知医生。

- 有接触感染呼吸道疾病的人。

只有进行养颜护肤科护理治疗,医生才需要记录患者治疗前和治疗后的照片,为下次就诊跟进症状,评估治疗效果做记录,此类记录未经患者许可不得发表。

养颜护肤科护理治疗前将进行10分钟的过敏测试,为降低患者使用中药产品产生过敏反应的风险。但在过敏测试中,不能百分百防止过敏,患者可能会对与其生活中一起使用的产品产生过敏反应。

本人已阅读和知晓所有信息,同意治疗并接受所有可能带来的风险后果。因在此签名,指纹作为证据。

 

หนังสือแสดงการรับทราบข้อมูลและความยินยอมรับการตรวจรักษาพยาบาล การทำหัตถการ

คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ข้าพเจ้ายินยอมให้บุคลากรทางการแพทย์ของคลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว ทำการรักษาพยาบาล ทำหัตถการ เพื่อการ วินิจฉัยโรค บำบัดโรค ป้องกันโรค ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจทางการแพทย์ ด้วยวิธีการตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ตามดุลยพินิจแพทย์จีนหรือคณะแพทย์จีน เช่น การใช้ยาสมุนไพรจีน (ยารับประทานและยาใช้ภายนอก) การฝังเข็ม การนวดทุยหนา รวมถึงหัตถการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา เป็นต้น และข้าพเจ้ายอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการวินิจฉัยรักษาพยาบาลนั้น ๆ รวมทั้งยินยอมให้ส่งผู้ป่วยไปเพื่อรับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่นเมื่อมีเหตุอันสมควร

ข้อมูลที่ผู้ป่วยและญาติจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการรักษา

- โรคประจำตัวของผู้ป่วย

- ยาที่ใช้เป็นประจำ (ยาแผนปัจจุบันรวมไปถึงยาสมุนไพรและอาหารเสริม)

- ประวัติแพ้ยา/แพ้อาหาร/แพ้ยาสมุนไพร

- ประวัติการผ่าตัด/อุบัติเหตุ

ข้อมูลที่ผู้ป่วยและญาติจะได้รับ

- การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาเบื้องต้น

- อาการความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้น และทราบว่าอาการของผู้ป่วยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

- ผลดีและผลข้างเคียงของการรักษา/ภาวะแทรกซ้อน

1. การใช้ยาสมุนไพรจีน

- การรับประทานยาสมุนไพรจีนในช่วงแรก หรือในช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนยา เป็นช่วงที่ร่างกายอยู่ระหว่างการปรับสมดุล อาจพบอาการอ่อนเพลีย ท้องเสียเล็กน้อย คลื่นไส้อาเจียน หรือวิงเวียนศีรษะได้บ้าง  2 – 3 วัน หากอาการเหล่านี้มีอยู่ตลอดระยะเวลาที่รับประทานยา ควรหยุดยาและปรึกษาแพทย์ผู้จ่ายยา

- หลังรับประทานยาสมุนไพรจีนหากมีอาการแพ้ยาสมุนไพรจีน เช่น อาการผื่นแดงคันทั่วร่างกายโดยไม่มีประวัติโรคผิวหนังผื่นแพ้มาก่อน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นต้น ให้หยุดยาทันทีและปรึกษาแพทย์ผู้จ่ายยา

*ยาสมุนไพรจีนที่ชำระเงินแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยน คืน หรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้

2. การทำหัตถการแผนกฝังเข็มและแผนกทุยหนา

การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการฝังเข็มและนวดทุยหนา

- ควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง หากไม่ได้รับประทานอาหารมาก่อนอาจเกิดอาการหน้ามืดเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมได้

- ควรนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ หลังออกกำลังกายหรือภารกิจที่รีบร้อน ผู้ป่วยควรนั่งพักให้หายเหนื่อยก่อน

- ควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเพื่อลดความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะเข้าไปในร่างกาย ก่อนที่แพทย์จะฝังเข็มจะใช้สำลีแอลกอฮอล์เช็ดบนจุดฝังเข็มก่อนทุกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อทำความสะอาด

- ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่นหรืออึดอัดจนเกินไป เพื่อความสะดวกและผ่อนคลายขณะทำการรักษา

ข้อควรระวังในการฝังเข็ม (ท่านจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการรักษา)

- สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างการมีประจำเดือน

- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน

- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด หรือมีการทานยาละลายลิ่มเลือด

- ผู้ป่วยโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน การฝังเข็มไม่สามารถรักษาได้ เพียงแต่ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ เช่น โรคต้อกระจก

- ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (Pacemaker)

ข้อควรระวังในการนวดทุยหนา (ท่านจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการรักษา)

- ผู้ป่วยที่มีความดันสูงมากกว่า 160/100 mmHg ไม่สามารถนวดทุยหนาได้

- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, มะเร็งกระดูก, โรคผิวหนังบางชนิด, มีแผลเปิด, อุบัติเหตุกระดูกหักร้าว, โรคกระดูกพรุนชนิดรุนแรง ไม่สามารถนวดทุยหนาได้หรือให้แพทย์ประเมินก่อนรักษา

- ผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่าย

- ผู้ป่วยวัณโรค

- สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ต่ำกว่า 5 เดือน

2.1 การปฏิบัติตัวในหัตถการแผนกฝังเข็ม

การปฏิบัติตัวขณะฝังเข็ม

- ขณะฝังเข็มทำใจให้สบายไม่วิตกกังวลหรือหวาดกลัวจนเกินไป ผ่อนคลายร่างกายไม่ให้กล้ามเนื้อตึงเกร็ง หากขณะฝังเข็มเกิดความรู้สึกเจ็บ ตึง หน่วง ชา ไฟฟ้าวิ่ง เป็นปกติที่เกิดขึ้นจากการฝังเข็มได้

- หากรู้สึกเจ็บปวดมากเกินไปหรือมีความรู้สึกผิดปกติอย่างอื่น เช่น เวียนศีรษะหน้ามืด เหงื่อแตกมือเท้าเย็น ให้รีบแจ้งแพทย์หรือผู้ช่วยแพทย์ทันที

- ขณะที่มีเข็มอยู่บนร่างกายห้ามขยับตัวโดยพลการเพราะอาจทำให้เข็มงอ กล้ามเนื้อเกร็งเคล็ดยอก เข็มติดดึงออกยาก ผู้ป่วยห้ามดึงเข็มออกเองหากรู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่ฝังเข็มหรือหากเข็มหลุด ต้องแจ้งให้แพทย์หรือผู้ช่วยแพทย์ทราบโดยทันที

- ในขณะใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าถ้าท่านรู้สึกปวด เครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากระตุ้นแรงเกินไป ให้ท่านเรียกแพทย์หรือผู้ช่วยแพทย์ทันที เพื่อทำการปรับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดอาการระบมหรือการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณที่ทำการกระตุ้น

การปฏิบัติตัวหลังฝังเข็ม

- ผู้ป่วยที่นอนคว่ำหน้าเป็นเวลานาน เมื่อถอนเข็มหมดแล้ว ควรนอนหงายพักผ่อนเป็นเวลา 5 - 10 นาที ก่อนลุกจากเตียง

- หากผู้ป่วยรู้สึกปวดขัดบริเวณจุดที่ฝังเข็ม สามารถบอกแพทย์ผู้รักษาให้ทำการแก้ไขได้

- หลังจากฝังเข็มเสร็จสามารถขับรถ อาบน้ำ(ควรเว้นระยะเวลา 2 ชั่วโมงจึงอาบน้ำได้) ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ปกติโดยไม่จำเป็นต้องกลับไปนอนพักที่บ้านแต่อย่างใด

- อาจรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัวคล้ายจะเป็นไข้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดลดไข้เองได้ ดื่มน้ำมาก ๆ อาการดังกล่าวสามารถหายเองได้หลังจากนอนหลับพักผ่อน

- หลังจากครอบแก้ว หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น โดนลม ตากแอร์และอาบน้ำ (ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมงจึงจะสามารถอาบน้ำได้)

- การรักษาด้วยการฝังเข็ม สามารถทำควบคู่กับการรักษาอย่างอื่นร่วมไปด้วยได้ เช่น กายภาพบำบัด การรับประทานยาแผนปัจจุบัน

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังการฝังเข็ม

- อาการเลือดออกใต้ผิวหนัง อาจทำให้เกิดรอยม่วงคล้ำ มีจ้ำเลือด กดเจ็บบริเวณที่ฝังเข็มได้ อาการนี้จะค่อย ๆ หายไปเองในเวลา 3 - 5 วันสามารถใช้ผ้าเย็นประคบภายใน 24 ชม. หลังจากพบอาการและประคบอุ่นหลังจาก 24 ชม. เพื่อช่วยให้รอยห้อเลือดหายเร็วขึ้น

- อาการปวดระบมหลังฝังเข็ม อาจมีอาการปวดระบม 1 - 2 วัน กรณีเกิดอาการดังกล่าว พักผ่อนให้เพียงพอ งดเว้นการออกกำลังกาย สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้

- ในสุภาพสตรีบางท่านเมื่อฝังเข็มแล้วอาจจะกระตุ้นให้รอบเดือนมาเร็วขึ้น หรือมามากกว่าปกติได้

2.2 การปฏิบัติตัวในหัตถการแผนกทุยหนาและกระดูก

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังรักษาด้วยวิธีนวดทุยหนา

- มีอาการปวดตึงหลังการนวดทุยหนา เกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเล็กน้อย มักเป็นในผู้ที่ไม่ค่อยได้รับการนวดผ่อนคลายมาก่อน ถ้าระบมผิวค่อนข้างมาก สามารถรับประทานยาแก้ปวด ถ้าเป็นไม่มากให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว

- มีอาการหน้ามืด, เวียนศีรษะ, ใจสั่น, เหงื่อออกตามตัว,มือเท้าเย็น,คลื่นไส้อาเจียน มักเป็นในผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย อาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำหรือตื่นเกร็งในการรักษา ดูแลเบื้องต้นด้วยการรับประทานน้ำหวานหรือนอนพักสักระยะหนึ่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น

- มีรอยเขียวเป็นจ้ำ ๆ ตามบริเวณที่นวด เกิดจากการได้รับประทานยาละลายลิ่มเลือดเป็นเวลานาน ๆ จากการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจหรือเกิดจากภาวะโลหิตจาง ถ้ามีอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เอง

- มีไข้หรืออ่อนเพลีย มักเป็นในผู้ที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงหรือมีการกดนวดบริเวณต่อมน้ำเหลือง ถ้ามีอาการเหล่านี้สามารถทานยาลดไข้หรือดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยบรรเทาอาการได้

- มีอาการคันหรือมีผื่นแพ้ จากยาที่ใช้ภายนอก อาจเกิดจากการแพ้ยาหรือผิวแห้ง/บางจนเกินไป จนทำให้ระคายเคืองได้ง่าย ควรงดการพอกยานานเกิน 4 ชั่วโมงหรือพอกยาทิ้งไว้ข้ามคืน

3. การทำหัตถการครอบแก้ว

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการครอบแก้ว (ท่านจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการรักษา)

- สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างการมีประจำเดือน

- ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่าย

- ผู้ป่วยที่บริเวณผิวหนังมีแผลเปิด บวม อักเสบและโรคผิวหนัง หรือบริเวณที่มีเส้นเลือดใหญ่

- ผู้ป่วยที่มีไข้สูงและอาการชัก

- ผู้ป่วยโรคหัวใจ

- ผู้สูงอายุหรือผู้ที่สภาพร่างกายอ่อนแอเกินไปไม่เหมาะในการครอบแก้ว มีความเสี่ยงทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอลง

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังการครอบแก้ว

- หลังทำการครอบแก้ว รอยจ้ำเลือดที่เกิดขึ้นจะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน และอาจเกิดถุงน้ำขึ้นได้ ถ้าเป็นถุงน้ำขนาดเล็กก็จะยุบหายไปเอง แต่ถ้าเกิดเป็นถุงน้ำขนาดใหญ่ไม่ควรทำการเจาะเอาถุงน้ำออกเอง ให้ท่านทำความสะอาดร่างกายตามปกติ ซับบริเวณที่มีอาการพองให้แห้งแล้วกลับมาพบแพทย์

- หลังจากครอบแก้ว หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น โดนลม ตากแอร์และอาบน้ำ (ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมงจึงจะสามารถอาบน้ำได้)

4. การทำหัตถการรมยา

ข้อควรระวังในการรมยา

1. ขณะทำการรมยาควรอยู่ในอิริยาบถที่ผ่อนคลายและท่าทางที่เหมาะสม ไม่เกร็ง มองเห็นจุดที่ต้องการรมยาอย่างชัดเจน

2. ในผู้สูงอายุที่อาจมีผิวหนังบอบบางกว่าปกติหรือผู้ที่มีการตอบสนองช้าหรือผู้ที่มีการรับความรู้สึกบริเวณผิวหนังลดลง อาจมีความเสี่ยงในการเกิดตุ่มน้ำหรือแผลไฟไหม้ได้

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังการรมยา

1. ขณะรมยาควรจะมีความรู้สึกอุ่นร้อนเล็กน้อยบริเวณที่ทำการรมยา ถ้ามีอาการร้อน ลวก หรือแสบผิวหนัง แจ้งแพทย์หรือผู้ช่วยแพทย์ทันที

2. ในผู้ป่วยบางรายหลังรมยา อาจมีตุ่มน้ำพอง ไม่ควรทำการเจาะเอาถุงน้ำออกเอง ให้ทำความสะอาดร่างกายตามปกติ ซับบริเวณที่มีอาการพองให้แห้งแล้วกลับมาพบแพทย์

3. ถ้ารู้สึกแสบร้อน มีรอยแดงที่ผิวหนังบริเวณที่รมยา ให้ประคบเย็นบริเวณดังกล่าวหรือทาเจลว่านหางจระเข้ เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนและป้องกันอาการพองของผิวหนัง

5. การทำหัตถการแผนกดูแลสุขภาพผิวพรรณ

การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการ

- ในกรณีที่มีหัตถการฝังเข็มร่วมด้วย ควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง หากไม่ได้รับประทานอาหารมาก่อนอาจเกิดอาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะได้ และในบริเวณที่ฝังเข็มอาจเกิดรอยเขียวช้ำ/รอยแดง/ระบมได้บ้าง

- ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่นหรือปกปิดบริเวณช่วงคอมากเกินไปเนื่องจากอาจมีการทำหัตถการบริเวณนั้น ๆ

- ควรมาก่อนเวลานัดอย่างน้อย 15 นาที

- ผู้ป่วยควรแต่งหน้าแบบเบาบางหรืองดเว้นการแต่งหน้า (เพื่อให้แพทย์ประเมินสภาพผิวได้อย่างชัดเจน)

ข้อควรระวังในการทำหัตถการ (ท่านจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการรักษา)

- สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์

- ผู้ป่วยที่มีโรคบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ หรือคอ

- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด หรือมีการทานยาละลายลิ่มเลือด

- ผู้ป่วยที่มีการฉีดโบท็อก ร้อยไหม ทำศัลยกรรมในระยะเวลาน้อยกว่า 2 สัปดาห์

- ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้น้ำผึ้ง /เกสรดอกไม้ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำหัตถการ

- ผู้ที่มีภาวะโรคติดต่อทางการสัมผัสหรือทางเดินหายใจ

เฉพาะการรักษาภายในแผนกดูแลสุขภาพผิวพรรณแพทย์จำเป็นต้องบันทึกภาพถ่ายก่อนและหลังการรักษาของผู้ป่วย เพื่อติดตามอาการและประเมินประสิทธิผลการรักษาในครั้งต่อไป โดยไม่มีการนำไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วย

การทดสอบอาการแพ้ก่อนทำหัตถการ ก่อนการทำหัตถการ บุคลากรของคลินิกจะทำการทดสอบอาการแพ้ในระยะเวลา 10 นาทีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงในการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผู้ป่วย แต่ในการทดสอบดังกล่าวไม่สามารถป้องกันการแพ้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงในการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผู้ป่วย

 
ข้าพเจ้าได้รับฟังคำอธิบายและอ่านข้อความตลอดแล้วยินยอมรับการรักษาและยอมรับผลที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงทุกประการ จึงลงลายมือหรือพิมพ์ลายนิ้วมือไว้เป็นหลักฐาน

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  ,  Cookies Policy